Google
 

FREE STREET FIGHTER II GAME

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2551

เตือนภาคธุรกิจหยุดใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน เชื่อหลัง 15 ต.ค.จับแน่

เตือนภาคธุรกิจหยุดใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน เชื่อหลัง 15 ต.ค.จับแน่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (16 ก.ย.51) กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี หรือ บก.ปศท.และกลุ่มพันธมิตรธุรกิจ หรือ บีเอสเอ ร่วมกันประกาศว่าตำรวจจะดำเนินการกับองค์กรธุรกิจที่ติดตั้งและ ใช้งานซอฟต์แวร์ ละเมิดลิขสิทธิ์อย่างเข้มงวดในวันที่ 15 ต.ค.51

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า จากการศึกษาของไอดีซี ถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะได้รับจากการลดอัตราการละเมิด ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เมื่อเดือนมกราคม 2551 ระบุว่า หากประเทศไทยลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนเครื่อง คอมพิวเตอร์พีซีลงได้ 10% จะเกิดการจ้างงานทางด้านไอทีเพิ่ม 2,100 ตำแหน่ง การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ คิดเป็นมูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 35,000 ล้านบาท และภาษีรายได้เพิ่มขึ้น 55 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2,275 ล้านบาท

พล.ต.อ.ศรายุทธ พูลธัญญะ รองผู้บังคับการ กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี หรือ บก.ปศท.กล่าวว่า การใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ทำให้ประเทศไทยเสียหายในเรื่องชื่อเสียงของประเทศ เนื่องจากปี 50 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้จัดอันดับประเทศไทยอยู่ในกลุ่ม PWL ถือเป็นกลุ่มที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ มากที่สุด จากเดิมตั้งแต่ปี37 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่ม WL หรือกลุ่มประเทศที่ถูกจับตามองว่า จะมีการละเมิด ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มากเท่าใด โดยทางบีเอสเอมีข้อมูลการละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว ว่าบริษัท ใดบ้าง และจะส่งมาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการในวันที่15 ต.ค. นี้ หากยังไม่หยุดการใช้ซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์

รองผู้บังคับการ บก.ปศท.กล่าวต่อว่า คดีความที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์เป็นคดีความที่สามารถยอมความกันได้ และเป็นคดีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะจับกุมได้ต่อเมื่อมีเจ้าทุกข์เข้าแจ้งความเท่านั้น เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่ สามารถ รู้ได้ว่ามีซอฟต์แวร์ตัวใดของบริษัทใดบ้างที่ละเมิดลิขสิทธิ์อยู่หากขาดเจ้าทุกข์ โดยช่วงครึ่งปี51 มีการจับกุม บริษัทฯที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์จำนวน 45 ราย คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 125 ล้านบาท ในจำนวนนี้ มีการยอมความกันประมาณ 90% เนื่องจากบริษัทที่ละเมิดลิขสิทธิ์ยอมที่จะจ่ายค่าลิขสิทธิ์ ให้เจ้าของซอฟต์แวร์ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้

“ครั้งนี้ถือเป็นการเตือนให้องค์กรธุรกิจได้รับทราบอีกครั้งหนึ่งว่า จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายให้การติดตั้งซอฟต์แวร์ ละเมิดลิขสิทธิ์ต้องยุติลง ซอฟต์แวร์แท้ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องไม่เพียงมีข้อดีที่เห็นเด่นชัดหลายประการ เช่น ประสิทธิ์ภาพ การใช้งานและความปลอดภัยจะเป็นไปตามมาตรฐานที่รับรองโดยผู้ผลิต การใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง จะช่วยส่งเสริมให้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้งานมากขึ้น โดยตำรวจจะบังคับใช้กฎหมายกับ องค์กรธุรกิจ และผู้บริหารขององค์กรนั้นอย่างจริงจังเพื่อให้ได้ตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษซึ่งมีทั้งจำคุกและปรับในอัตรา ที่สูง” พล.ต.อ.ศรายุทธ กล่าว

ด้านนายดรุณ ซอว์นีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ประจำภูมิภาคเอเชีย กลุ่มพันธมิตรธุรกิจ หรือ
บีเอสเอ กล่าวว่า ตนดีใจที่เจ้าหน้าที่ตำรวจของไทยประกาศดำเนินการตามกฎหมายกับองค์กรธุรกิจที่ติดตั้งและ
ใช้งานซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยโครงการป้องปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ครั้งนี้จะแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยให้
ความสำคัญกับการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างจริงจัง และหากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทย
ลดลง ก็จะเป็นแรงจูงใจในการพัฒนาลิขสิทธิ์ ประจำภูมิภาคเอเชียของบีเอสเอ

“การปกป้องสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญาของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ครั้งนี้ สอดคล้องกับการขยับตัวครั้งล่าสุดของ บีเอสเอ ที่ประกาศเพิ่งเงินรางวัลสูงสุดให้แก่ผู้แจ้งเบาะแส ที่จะสามารถนำไปตับกุมองค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ ละเมิดลิขสิทธิ์เป็นเงินรางวัล 500,000 บาท อย่างไรก็ตาม ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยบริษัทคนไทยก็ยังถูกละเมิด และใช้กันทั่วไปในองค์กรธุรกิจ และครั้งนี้ถือเป็นการเตือนล่วงหน้า 30 วันก่อนจะจับจริงในวันที่ 15 ต.ค.51 เพื่อให้ธุรกิจเคารพสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญาของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์”ผอ.ฝ่ายปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าว

ที่มา ไทยรัฐ 17 ก.ย. 51

0 ความคิดเห็น: